Thursday, May 14, 2009

รวย 3,200 ล้าน จากดอกไม้ก้านเดียว 'มารีเมกโกะ'

หากเอ่ยถึงฟินแลนด์ เราๆ อาจนึกถึงบรรยากาศของประเทศที่มีแต่หิมะ และแหล่งผลิตมือถือชื่อดัง แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำความรู้จักในดินแดนแห่งความหนาวเย็นนี้ คือ 'มารีเมกโกะ'

บริษัทออก แบบและผลิตลายผ้าอันมีชื่อเสียงของประเทศฟินแลนด์ ที่ปัจจุบันสร้างรายได้ถึงปีละ 3,200 ล้านบาท จากจุดเริ่มต้นแค่แรงบันดาลใจจากดอกป๊อปปี้ (ดอกฝิ่น) กลายมาเป็นลวดลายบนผืนผ้าและพัฒนามาสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยทั้งหมดเกิดขึ้นท่ามกลางสภาพภูมิอากาศอันเลวร้าย และภาวะหดหู่จากสงครามโลกครั้งที่ 2

ความสำเร็จอันน่าพิศวง นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือทีซีดีซี ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะและงานออกแบบแห่งประเทศฟินแลนด์ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวความบากบั่นของบริษัทดังกล่าวออกมาเป็น นิทรรศการหมุนเวียนชุด "มารีเมกโกะ แล้ง หนาว...แต่เร้าใจ" ที่ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรี่ยม โดยหวังให้เรื่องราวอันไม่น่าเชื่อนี้จุดประกายนักออกแบบไทยให้เกิดการเรียน รู้ความเป็นตัวตนที่ผสานความคิดสร้างสรรค์และการจัดการสมัยใหม่จนสร้างแบ รนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก

"มารีเมกโกะ" แปลชื่อตามตัวได้ว่า "ชุดของเด็กผู้หญิง" ตั้งอยู่ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดสนรอบด้านช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้ก่อตั้ง อาร์มี ราเทีย ผู้ทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้อำนวยการบริหาร ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปกรรม และหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ในยุคนั้น เป็นผู้นำพาผลงานและนักออกแบบไปสู่ความแตกต่าง และประสบความสำเร็จอย่างสูง

จากโรงงานพิมพ์ผ้าเล็กๆ ไปสู่การขยายรูปแบบธุรกิจจนกลายเป็นบริษัทออกแบบชั้นนำของประเทศที่ทำการ ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในชีวิต ประจำวันต่างๆ หรือที่เรียกกันว่า "ไลฟ์สไตล์ คอนเซ็ปต์" โดยผลงานทั้งหมดจะแฝงความเป็นชาตินิยมของฟินแลนด์และลัทธิสมัยใหม่นิยม

" แม้ว่าฟินแลนด์อยู่ท่ามกลางความหนาวเย็นแห้งแล้งเกือบตลอดปี และมีเพียงป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติหลัก แต่มารีเมกโกะกลับสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จนเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ทุกวันนี้เขาทำรายได้ถึง 3,200 ล้านบาท นั่นคือสิ่งที่เราอยากให้นักออกแบบไทยได้เรียนรู้ถึงวิธีคิดว่าเขาทำได้ อย่างไร และถ้าเรามองว่าเราลำบากแล้วในภาวะตอนนี้ ถ้าลองเป็นอย่างเขาบ้างจะทำได้อย่างเขาไหม" ไชยยง รัตนอังกูร ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ตอบถึงคำถามที่ว่าทำไมจึงต้องศึกษางานออกแบบของอีกฟากทวีปที่อากาศแตกต่าง จากเมืองร้อนอย่างบ้านเราโดยสิ้นเชิง

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ยังวิเคราะห์ผลงานของมารีเมกโกะ ว่าอาจดูจะขัดกับภาวะของประเทศในยุคนั่น เพราะขณะที่ฟินแลนด์กำลังหดหู่จากสงคราม และขาวโพลนจากหิมะเกือบทั้งปี แต่ผลงานกลับสะท้อนความสดใส สอดแทรกความเป็นธรรมชาติ เนื่องจากพวกเขาต้องการจะให้กำลังใจผู้คน ซึ่งดีไซน์เหล่านี้มาพร้อมกับการไม่ลืมรากเหง้าของตัวเอง และกลวิธีการทำธุรกิจอย่างแยบยล สังเกตพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอ นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบที่ทำให้มารีเมกโกะยังคงแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิต ของชาวฟินแลนด์ทุกคนมากว่า 5 ทศวรรษ

ผลงานที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ประกอบด้วย ชิ้นงานกว่า 100 ชิ้น ไม่ว่าจะเป็นลายผ้าที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ศิลปะท้องถิ่นและงานสถาปัตยกรรมแบบฟินนิช แบบจำลองงานสถาปัตยกรรม เสื้อผ้า เครื่องใช้ในบ้าน และเรื่องราวความสำเร็จของการบริหารองค์กร นับจากยุคก่อตั้งจนถึงยุคปัจจุบันอีกด้วย

นิทรรศการจะแสดงจนถึง วันที่ 18 มิถุนายนนี้ บริเวณห้องจัดแสดงงาน 2 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรี่ยม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ ใครที่อยากเรียนรู้และทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสำเร็จระดับสุดยอดจากดินแดนแห่งหิมะต้องไม่พลาด

‘ซูชิ 5 บาท’ ซื้อง่าย-ขายคล่อง


ยุคนี้คนไทยนิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นกันไม่น้อย รวมถึงอาหารที่เรียกว่า “ซูชิ” ซึ่งก็มีผู้ที่นำเอาซูชิมาใช้เป็น “ช่องทางทำกิน” ได้อย่างน่าสนใจ ดังเช่นรายที่ทางทีมงานจะนำเสนอในวันนี้...

ศรีกาญจนา วงษ์ชื่น เจ้าของร้าน “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” ทำขายกันใหม่ ๆ ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง ขายมาเกือบ 1 ปีแล้ว เธอบอกว่า ด้วยความที่ชอบทำสิ่งสวย ๆ งาม ๆ จึงเปลี่ยนจากอาชีพเดิมมองหาอาชีพใหม่ที่เกี่ยวข้องกับความชอบ ก็มีเพื่อนแนะนำให้ขาย “ซูชิ” พร้อมทั้งบอกวิธีทำ และสอนเทคนิคการทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ ซึ่งตนเองก็มีความมั่นใจในความคิดว่าอาหารประเภทนี้ยังพอมีทางไปได้แน่ ๆ แม้ว่าส่วนตัวจะไม่ค่อยชอบก็ตาม หลังจากหาทำเลขายได้แล้ว วันแรกก็ไปซื้อของ วันที่สองนั่งหัดทำที่บ้านทั้งวัน พอวันที่สามจึงออกขายเลย ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าขายหมดตั้งแต่วันแรก



เมื่อ ประสบผลสำเร็จในวันแรก จึงมุมานะพยายามมากขึ้น ด้วยการออกแบบหน้าซูชิต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกเพื่อความหลากหลาย อันเป็นการสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนร้านมากขึ้น จากเดิมที่หน้าซูชิในระยะเริ่มแรกมีเพียง 8-9 หน้า เมื่อ 8 เดือนผ่านไป หน้าซูชิก็มีเพิ่มขึ้นถึง 30 หน้าแล้ว และเธอก็ยิ่งมีความมั่นใจว่าอาหารประเภทซูชินี้มีอนาคตแน่นอน หากมีฝีมือ และมีทำเลที่ดี

ในแต่ละวัน ศรีกาญจนาจะใช้ข้าวญี่ปุ่น เฉลี่ยวันละ 7 กก. ซึ่งราคาค่อนข้างสูง คือประมาณ 60 บาท/1 กก. ไม่สามารถลดต้นทุนด้วยการใช้ข้าวไทยได้ เพราะร่วน ไม่เหนียว เวลาห่อออกมาแล้วข้าวแตก ไม่เกาะกัน

นอกเหนือจากข้าวแล้ว วัตถุดิบอื่น อาทิ หน้าซูชิต่าง ๆ แผ่นสาหร่าย ซอสญี่ปุ่น วาซาบิ ก็ควรสั่งซื้อจากที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความสับสน

การ หุงข้าว หุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแบบปกติ แต่มีเทคนิคในการเพิ่มรสชาติให้ข้าวไม่จืดชืดด้วยการเติมน้ำซุปสูตรพิเศษ ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำส้มสายชู 1 ถ้วย และน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ ที่ละลายให้เข้ากัน ราดลงให้ทั่วข้าวหลังจากที่ข้าวสุกแล้ว จากนั้นถ่ายข้าวสุกใส่ในภาชนะพลาสติกสีขาวอย่างดี ตั้งพักไว้ให้ข้าวเย็นลง เพื่อจะได้ไม่ร้อนมือเวลาที่ปั้นข้าว และต่อมาก็จะเป็นการม้วนข้าว ซึ่งจะใช้สาหร่ายแผ่น ขนาดประมาณ 8X5 นิ้ว ในแต่ละวันถ้าใช้ข้าว 7 กก. จะใช้แผ่นสาหร่ายประมาณ 70-80 แผ่น

การ ม้วนข้าวนั้นจะมีอุปกรณ์ตัวช่วย 1 อย่างที่ขาดไม่ได้ คือ แผ่นไม้ม้วนข้าว ทำมาจากไม้ วางแผ่นสาหร่ายลงไปบนแผ่นม้วนข้าว ตักข้าวประมาณ 1 ทัพพีกว่า ๆ ลงไปบนแผ่นสาหร่าย เกลี่ยข้าวให้ทั่ว บีบมายองเนสตามแนวขวางบนแผ่นสาหร่ายด้านบน เพื่อทำหน้าที่เป็นกาวให้แผ่นสาหร่ายติดกันเวลาม้วน จากนั้นม้วนข้าวให้เป็นก้อนกลม ซึ่งการม้วนข้าวนี้กว่าจะม้วนให้ออกมาสวยก็ต้องฝึกกันหน่อย

ม้วน แล้วก็ใช้กรรไกรคมกริบตัดข้าวห่อสาหร่ายออกมาเป็นชิ้น ๆ ข้าวห่อสาหร่าย 1 แท่งจะตัดออกมาได้ 8 ชิ้น และข้าวสวย 7 กก. จะม้วนข้าวได้เท่ากับจำนวนสาหร่ายแผ่นที่ใช้ในแต่ละวัน

ต่อมาก็เป็นเรื่องของ “หน้าซูชิ” หน้า หลัก ๆ ที่จำเป็นต้องมีระยะเริ่มต้น มีเพียง 5-6 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ไข่กุ้งส้ม 500 กรัม, ยำสาหร่ายเขียว 250-500 กรัม, กุ้งต้ม 100–150 ตัว, ปูอัด 100-150 ชิ้น, ไข่หวาน 500 กรัม, ปลาแซลมอน (ปลาดิบ) และครีมมายอง เนส หากขายแล้วได้กำไร ก็สามารถลงทุนซื้อหน้าเพิ่มได้อีก อาทิ ไข่กุ้งแดง ไข่กุ้งดำ ปลาไหล แมงกะพรุน ฯลฯ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสินค้า

หน้า ซูชิหลัก ๆ ที่ต้องวางโชว์หน้าร้านแบบขาดไม่ได้มี 8-9 หน้า ได้แก่ หน้ากุ้ง, หน้าปูอัด, หน้าปลาแซลมอน (ปลาดิบ), หน้าไข่กุ้งส้ม, หน้ายำสาหร่ายเขียว, หน้ายำสลัดปูอัด, หน้าสลัดไข่กุ้งส้ม, หน้าไข่หวาน หลังจากนั้นก็เพิ่มความหลากหลายได้ถึง 30 หน้า อาทิ หน้าชีส, หน้าสลัดทูน่า, หน้าแมงกะพรุน, หน้าแฮม, หน้าปลาซาบะ, หน้าก้ามปู, หน้าหอยเชลล์ ฯลฯ โดยขายในราคาชิ้นละ 5 บาท

“ที่ร้านจะทำไปขายไป หากของเหลือก็จะไม่นำมาขายซ้ำอีก และของหมุนเวียนที่ใช้ทุกวันจะซื้อมาตุนคราวละจำนวนมาก ๆ แต่จะต้องให้หมดภายในเวลา 3 วัน” ศรีกาญจนาบอก

การทำหน้าซูชินั้น อารมณ์ต้องเย็น ต้องประณีตเพื่อความสวยงาม ที่สำคัญ ของที่ใช้แต่งหน้าซูชินั้น ต้องทำให้ดูมาก พูน น่าทาน ซึ่งก็ต้องตักเยอะจริง ๆ เมื่อลูกค้าซื้อไปทานแล้ว จะได้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป

สัดส่วนข้าวในปริมาณดังกล่าว ใช้เงินลงทุนวัตถุดิบรวมวันละประมาณ 3,000-4,000 บาท หากขายหมดจะได้เงินประมาณ 5,000-6,500 บาท ซึ่งล่าสุดกระแสความนิยมอาหารชนิดนี้ก็ยังไม่ตก

ศรีกาญจนา ขาย “ซูชิ ชิ้นละ 5 บาท” เป็น “ช่องทางทำกิน” อยู่ที่ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง เยื้องกับ 7-11 ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 07.00-13.30 น. ใครหาร้านไม่เจอก็ โทร. 08-1614-9593.

หาไอเดีย ทำธุรกิจส่วนตัวอะไรดี


ยุคที่ค่าครองชีพแพงหูฉี่หยั่งนี้ ทำให้ทั้งผู้มี รายได้น้อยและปานกลางต้องระมัดระวัง การใช้จ่ายเพื่อให้แต่ละเดือนผ่านไปให้ได้ แบบไม่เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัวกันใช่มั้ย ดังนั้น หากท่านใดสามารถบริหารรายได้ให้อยู่ในงบที่เดือนชนเดือนได้ก็ถือว่าเก่งแล้ว แฟ้มบุคคล ขอตบมือให้ จึงได้แต่ภาวนาอย่าให้ค่าครองชีพสูงไปกว่านี้อีกเลย ขอให้ต่ำกว่านี้ยังดีกว่าเนอะ จะได้คลายความกังวลลงได้มั่ง

ว่าแล้วขอหักมุมไปพูดเรื่อง การทำธุรกิจส่วนตัว มั่ง แม้ช่วงนี้ใครๆ ก็ร้องจ๊ากยอมรับว่า การ ทำธุรกิจน่ะลำบากลำบนไม่เหมือนสมัยเศรษฐกิจเฟื่องฟูและเงินสะพัด แต่เชื่อขนมกิน ได้เลยว่า ยังมีคนจำนวนมากคิดอยากทำธุรกิจส่วนตัวอยู่ตลอดเวลา ของพรรค์นี้น่ะ บางทีก็เป็นเรื่องโชคชะตาฟ้าลิขิตนะ เพราะใครจะกล้าฟันธงล่ะว่า อย่าไปทำมันเลยเสี่ยง จะตาย เพราะที่ผ่านมาก็มีนี่หว่า ที่บางคนสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ และไปได้สวยซะด้วย

ฉะนั้น ถ้าอยากลองทำธุรกิจส่วนตัวกันแล้ว ก็ต้องเสี่ยงเป็นเสี่ยงกัน โถชีวิตของคนเรา ขนาดอยู่เฉยๆ ก็เสี่ยงนะไม่ใช่ไม่เสี่ยง ดังนั้น ถ้าอยากเดินหน้าก็อย่ากลัวว่า จะสะดุด และควรมีความมั่นใจสุดๆ ด้วย ถึงจะฝ่าฟันไปถึงความฝันที่วาดหวังไว้ ใครนะไม่เคย ฝันอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเองมั่งอ่ะ

ซึ่ง การมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็มีองค์ประกอบที่พอจะแซมเปิ้ล ให้ได้ เช่น.....

1. มีเป้าหมายที่ตัวเองอยากทำซะก่อน เพราะบางคนก็อยากทำแค่ธุรกิจเล็กๆ อย่างมี รถเข็นขายก๋วยเตี๋ยว, ขายน้ำผลไม้ หรือขายผลไม้เต็มตัวไปเลยก็พออะไรเงี้ยะ แต่บาง ท่าน ก็อยากทำธุรกิจใหญ่ขึ้นมาอีกนิด แบบต้องมีพื้นที่หลักแหล่งแน่นอนเพื่อขายหนังสือ, ขาย อุปกรณ์กีฬา หรือทำเป็นสำนักงานขายตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ จึง ขึ้นอยู่ กับคุณแล้ว ล่ะว่า อยาก ทำอะไร และสิ่งที่อยากทำนั้นมีวี่แววจะไปรอดหรือ ไม่ต้องคำนึงถึงตรงนี้ ไว้ด้วย อย่าลืมซะล่ะ

2. ต้องลงทุนมากน้อยแค่ไหน? ช่วยตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของตัวด้วยนะ หากมีทุนน้อยก็อย่าคิดการใหญ่ หรืออยากทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เดี๋ยวก็เจ๊ากะเจ๊งแล้วได้ ท้อใจกันพอดี

3. จะลงทุนคนเดียวหรือลงทุนกับเพื่อน บางคนกลัวการลงทุนคนเดียว จึงอยากมี หุ้นส่วน จะได้หารต้นทุนแล้วไม่ต้องเสี่ยงลงทุนมากก็ว่ากันไป ตอบคำถามเหล่า นี้ให้ได้ซะก่อน แล้วจะ ค่อยๆ มองเห็นเค้ารางว่าควรทำธุรกิจอะไรชัดขึ้น ขออวยพรให้ประสบ ความ สำเร็จทั่วหน้าจ้ะ


โดย คนสมถะ